ภาควิชาสังคมศึกษา

ภาควิชาสังคมศึกษา เชื่อว่าการสร้างและพัฒนาศักยภาพของประชากรจะช่วยในการพัฒนาสังคม นักเรียนจะได้เรียนรู้โลกปัจจุบันและในอดีต(ประวัติศาสตร์)ควบคู่กันไป เพื่อสามารถเชื่อมโยงและมีมุมมองในการคิดวิเคราะห์

ฝ่ายประถมศึกษา

นักเรียนจะเได้เรียนรู้โลกและการเปลี่ยนแปลง เชื่อมโยงวัฒนธรรมและประชากรจากที่ต่างๆ เข้าใจถึงความต่างของสังคม เช่นเรียนรู้เกี่ยวกับโรงเรียนของเรา ครอบครัว อารมณ์ทางสังคม และบทบาทของตนเองในสังคม

ฝ่ายมัธยมศึกษาตอนต้น

มาตรฐาน Common Core ในรายวิชาประวัติศาสตร์ สังคมศึกษา นักเรียนควรจะ :

  • อ้างอิงข้อมูลหลักฐานทั้งในส่วนของปฐมภูมิ และทุติยภูมิ

  • กำหนดแนวคิดหลัก หรือมีข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิและนำมารวบย่อได้

  • ระบุขั้นตอนรายละเอียดงานเขียน ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์

  • กำหนดความหมายของคำและวลีที่ใช้ในเนื้อความที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์

  • ระบุแนวคิด ความคาดหวังของผู้เขียนเนื้อความได้

  • เห็นความแตกต่างระหว่างความจริง ข้อคิดเห็นหรือทัศนคติ เหตุผลต่างๆในเนื้อความ

เนื้อหาที่เรียนในแต่ละชั้นเรียน:

  • ป.6 ประวัติศาสตร์โลกยุคโบราณ เรียนรู้เกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของมนุษย์ สมัยความเจิญรุ่งเรืองอียิปต์ อินเดีย จีน กรีซและโรม นักเรียนจะได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่สามารถเชื่อมโยงไปยังโลกปัจจุบัน

  • ม.1 ประวัติศาสตร์โลกยุคกลาง ความเจริญรุ่งเรืองของยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชีย และอเมริกา

  • ม.2 ประชากรและทวีปต่างๆ นักเรียนจะได้เรียนรู้ผ่านทางภูมิศาสตร์ด้วย

ฝ่ายมัธยมศึกษาตอนปลาย

มาตรฐาน Common Core ม.3-ม.4 ในรายวิชาประวัติศาสตร์ สังคมศึกษา นักเรียนควรจะ :

  • อ้างอิงข้อมูลหลักฐาน

  • กำหนดแนวคิดหลัก หรือ ข้อมูลปฐมภูมิ หรือทุติยภูมิ และสรุปเป็นแนวคิดของเนื้อความนั้นๆได้

  • วิเคราะห์เหตุการณ์ กำหนดลำดับก่อนหลังของเหตุการณ์ได้

  • ระบุความหมายของคำและวลีที่ใช้ในเนื้อความ รวมไปถึงคำศัพท์ที่อธิบายถึงการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์และสังคม

  • เปรียบเทียบมุมมองของผู้เขียนสองคนหรือมากกว่านั้น บอกได้ถึงความแตกต่าง หรือความเหมือนของรายละเอียดที่ผู้เขียนนำเสนอ

  • ประเมินและประมวลผลตามหลักฐาน ข้อมูลที่ผู้เขียนระบุไว้

  • เปรียบเทียบ ดูความแตกต่าง หรือความเหมือนของรายละเอียดข้อมูลปฐมภูมิ และทุติยภูมิ

มาตรฐาน Common Core ม.5-ม.6 ในรายวิชาประวัติศาสตร์ สังคมศึกษา นักเรียนควรจะ :

  • อ้างอิงข้อมูลหลักฐานที่สนับสนุนข้อมูลปฐมภูมิ และทุติยภูมิ เชื่อมโยง แตกประเด็นรายละเอียดสำคัญเพื่อให้เห็นภาพรวมของเนื้อความได้

  • กำหนดแนวคิดหลัก หรือ ข้อมูลปฐมภูมิ หรือทุติยภูมิ และสรุปเป็นแนวคิดของเนื้อความนั้นๆได้

  • ประเมินและอธิบายด้วยการอธิบายแนวคิดที่หลากหลาย สามารถเลือกใช้ข้อมูลที่มีนำ้หนักความน่าเชื่อถือได้

  • วิเคราะห์ความซับซ้อน กุญแจสำคัญของประโยค บทความและเนื้อความทั้งหมด

  • ประเมินมุมมองที่ต่างกันของผู้เขียนที่เขียนในเรื่องหรือเหตุการณ์เดียวกัน

  • รวบรวมข้อมูลมากกว่าหนึ่งแหล่งเพื่อนำมาใช้ในการหาคำตอบของเรื่องนั้นๆ

  • รวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย ทั้งข้อมูลปฐมภูมิ หรือทุติยภูมิ เพื่อให้เข้าใจถึงแนวคิดหลัก

สังคมศึกษาในระดับม.ปลายนี้ มีวิชาAPเศรษฐศาสตร์จุลภาค APจิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ Global Issues สังคมวิทยา และประวัติศาสตร์อเมริกา